วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

   


 สภาพสังคมในปัจจุบันนี้สะท้อนให้เห็นว่า การดำรงชึวิตของคนในสังคมมีความเกี่ยวข้องกับการบริโภคทั้งสินค้าและบริการ อาทิเช่น ทุกคนต้องบริโภคอาหาร จับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงการใช้บริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับตนเอง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับบริการและสินค้าที่ได้มาตรฐาน และเป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้มีการโฆษณาไว้ ทั้งนี้ ทางภาครัฐเองในฐานะที่เป็นผู้ดูแลและคุ้มครองประชาชนในประเทศ ต้องให้การสอดส่อง หากพบว่า ประชาชนคนใดได้รับผลกระทบ หรือความเสียหาย จากการใช้สินค้าหรือได้รับบริการ ทางภาครัฐจะต้องมีมาตรการในการเข้าไปช่วยเหลือ และเยียวยาจากความเสียหายดังกล่าว
    ทั้งนี้ได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 ออกมา ที่มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะที่กำหนดไว้ซึ่งหน้าที่ของหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ รวมไปถึง สิทธิที่ผู้บริโภคสามารถกระทำได้ 
    ในกรณีที่ผู้บริโภคคนหนึ่งคนใด ได้รับผลกระทบ หรือความเสียหาย จากการบริโภคสินค้า และบริการนั้น สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคเองจะต้องทราบว่า สิทธิของผู้บริโภคเองนั้นสามารถกระทำการอย่างใดได้บ้าง ดังที่กล่าวต่อไปนี้
     จาก กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ 
 1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า และบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้า หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพของสินค้า และบริการดังกล่าว
 2.สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการโดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า 
 3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า หรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต และ
 4.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย ซึ่งหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียธิหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
    นอกจากนี้ กฏหมายได้กำหนดหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฎิบัติ และไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายเอาไว้ ดังนี้
  1.ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือรับบริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า และบริการ
   2.การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
   3.ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
   4.ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
   5.เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
     แม้ว่ากฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวจะออกมาเพื่อให้สิทธิ และคุ้มครองผู้บริโภดังกล่าวแล้ว ผู้บริโภคเองก็ยังคงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบให้กับผู้ประกอบธุรกิจการค้า และการให้บริการเสมอมา เพื่อความยุติธรรม จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างผู้บริโภค และผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากมีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคทั้งสินค้า และบริการ ก็จำเป็นที่จะต้องขึ้น ศาลผู้บริโภค ที่มีชื่อตาม ศาลทุกจังหวัด ในกฎหมายฉบับนี้มีประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ดังนี้
    1. ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าหรือบริการใดก็ตาม สามารถไปฟ้องศาล ผู้บริโภคได้ด้วยวาจา โดยไม่ต้องจ่ายเงินจ้างทนายความ แต่จะมีเจ้าพนักงานคดีของศาลเป็น ผู้ช่วยเขียนเรียบเรียงคำฟ้องไว้ให้ ทั้งเมื่อฟ้องไปแล้วหากคำฟ้องไม่ถูกต้อง ศาลอาจสั่งให้แก้ไข ให้ถูกต้องชัดเจนได้


     2. ผู้บริโภคได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ยกเว้นผู้บริโภคฟ้องไม่มี เหตุผลอันสมควร หรือเรียกค่าเสียหายเกินสมควร ศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลนั้น ชำระค่า ฤชาธรรมเนียมได้


    3. อายุความในการฟ้องร้องในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ อนามัยจากการบริโภค สินค้าหรือบริการสามารถใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึง ความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องรับผิด แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึง ความเสียหาย


    4. หากผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคบ้าง ต้องฟ้องที่ศาลผู้บริโภค ที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนา ซึ่งถ้าผู้บริโภคจะฟ้องผู้ประกอบการธุรกิจ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงเทพฯ แต่มีตัวแทน ขายสินค้าหรือบริการอยู่จังหวัดที่ผู้บริโภคอาศัยอยู่ ผู้บริโภคสามารถฟ้องต่อศาลจังหวัดที่ ผู้บริโภคมีภูมิลำเนา ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศาลได้มาก อันเป็นการช่วยผู้ บริโภคที่ได้รับความเสียหาย


    5. ภาระการพิสูจน์ในศาลเกี่ยวกับการผลิตการประกอบการ ออกแบบหรือส่วนผสม ของสินค้า การให้บริการ หรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว อยู่ในความรู้เห็น องผู้ประกอบธุรกิจก็ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำสืบให้ศาลเห็น ทำให้ง่ายต่อผู้บริโภคเพียงแต่ พิสูจน์ว่าตนเองได้รับความเสียหายจริง จากการใช้สินค้าหรือบริการนั้นเท่านั้น
     นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภภ ดังนี้
 -พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
 -พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
 -พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พ.ศ.2541 และ
 -พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
     
     ท้ายที่สุดแล้วหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ




References:
"สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค" : http://www.ocpb.go.th

"กฎหมายคุ้มบริโภคฉบับใหม่ (2551)  ได้ประโยชน์เต็มๆ" สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ นสพ.ตรังแนวหน้า ฉบับ 72 วันที่ 1-15 ก.ย 2551: http://www.oknation.net

"หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม". พิมพ์ครั้งที่ 1.ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม.

"คำอธิบาย และสารสำคัญ พระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551".พิมพ์ครั้งที่ 1. ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์. 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น